บทที่ 3
สื่อการเรียนการสอน
สื่อการเรียนการสอน
ในการพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอน
จะต้องคำนึงถึงทฤษฎีทางการศึกษา
จิตวิทยาการเรียนรู้การสื่อสารการเรียนรู้ และศาสตร์ต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างหรือพัฒนา
ผู้เรียนให้ได้ตามจุดประสงค์หรือเป้าหมายของแต่ละบทเรียน
ดังนั้น
ก่อนที่จะพัฒนาตัวสื่อการเรียนรู้
จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาทฤษฎีเกี่ยวกับสื่อ
การเรียนรู้เสียก่อน
เพื่อการให้การสร้างสื่อเป็นไปอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ อีกทั้ง
กระบวนการสร้างจะเป็นไปอย่างถูกทิศทาง
ไม่เสียเวลาในการสร้างและแก้ไขมากจนเกินไป ผู้รับ
การฝึกอบรมควรศึกษารายละเอียด ดังนี้
1. การสื่อสารการเรียนรู้
การสื่อสาร หรือ การสื่อความหมาย (Communication)
หมายถึง การถ่ายทอดเรื่องราว การ
แลกเปลี่ยนความคิดเห็นการแสดงออกของความคิดและความรู้สึก เพื่อการติดต่อสื่อสารข้อมูลซึ่ง
กันและกัน (กิดานันท์ มลิทอง.2548ก:75) รูปแบบของการสื่อสาร
แบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือ
1.1 การสื่อสารทางเดียว (One-Way Communication) เป็นการส่งข่าวสารหรือการสื่อ
ความหมายไปยังผู้รับแต่เพียงฝ่ายเดียว
โดยที่ผู้รับไม่สามารถตอบสนองทันที (Immediate
Response) กับผู้ส่ง แต่อาจจะมีผลป้อนกลับ
ไปยังผู้ส่งในภายหลังได้ การสื่อสารในรูปแบบนี้จึง
เป็นการที่ผู้ส่งและผู้รับไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันได้ทันที
1.2 การสื่อสารสองทาง (Two-Way Communication) เป็นการสื่อสารหรือการสื่อ
ความหมายที่ผู้รับมีโอกาสตอบสนองมายังผู้ส่งได้ในทันที
โดยที่ผู้ส่งและผู้รับอาจจะอยู่ต่อหน้ากัน
หรืออาจอยู่คนละสถานที่ก็ได้
แต่ทั้งสองฝ่ายจะสามารถมีการเจรจาหรือการโต้ตอบกันไปมา โดยที่
ต่างฝ่ายต่างผลัดกันทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับในเวลาเดียวกัน
ดังนั้น ในการที่จะเกิดการเรียนรู้ขึ้นได้นี้
มักจะพบว่าต้องอาศัยกระบวนการของการสื่อสาร
ในรูปแบบของการสื่อสารทางเดียวและการสื่อสารสองทาง
ในลักษณะของการให้สิ่งเร้าเพื่อกระตุ้น
ให้ผู้เรียนมีการแปลความหมายของเนื้อหาบทเรียนนั้น
และให้มีการตอบสนองเพื่อเกิดเป็นการ
เรียนรู้ขึ้น ลักษณะของสิ่งเร้าและการตอบสนองในการสื่อสารนี้
หมายถึง การที่ผู้สอนให้สิ่งเร้าหรือ
ส่งแรงกระตุ้นไปยังผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนมีการตอบสนองออกมา
โดยผู้สอนอาจใช้สื่อ
โสตทัศนูปกรณ์ต่าง
ๆ
สื่อการสอน (Instructional
Media) หมายถึง
สื่อชนิดใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นเทปบันทึกเสียง
สไลด์ วิทยุโทรทัศน์ วีดิทัศน์ แผนภูมิ ภาพนิ่ง ฯลฯ
ซึ่งบรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับการเรียนการสอน เพื่อ
ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับผู้สอนส่งไปถึงผู้เรียน
ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตาม
วัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่ผู้สอนวางไว้ได้เป็นอย่างดี
ประเภทของสื่อการเรียนรู้
สื่อการเรียนรู้สามารถจำแนกออกตามลักษณะได้เป็น 3 ประเภท คือ
1 สื่อสิ่งพิมพ์ หมายถึง หนังสือและเอกสารสิ่งพิมพ์ต่าง
ๆ ที่แสดงหรือเรียบเรียงสาระ
ความรู้ต่าง ๆ
โดยใช้ตัวหนังสือที่เป็นตัวเขียนหรือตัวพิมพ์เป็นสื่อ ในการแสดงความหมาย สื่อ
สิ่งพิมพ์มีหลายชนิด ได้แก่ เอกสาร หนังสือเรียน หนังสือพิมพ์
นิตยสาร วารสาร บันทึก รายงาน
ฯลฯ
2 สื่อเทคโนโลยี หมายถึง
สื่อการเรียนรู้ที่ผลิตขึ้นใช้ควบคู่กับเครื่องมือโสตทัศนวัสดุ
หรือเครื่องมือที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น
แถบบันทึกภาพพร้อมเสียง (วีดิทัศน์) แถบบันทึกเสียง
ภาพนิ่ง
สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนอกจากนี้สื่อเทคโนโลยียังหมายรวมถึงกระบวนการต่าง ๆ ที่
เกี่ยวข้องกับการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ใน กระบวนการเรียนรู้
เช่น การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการ
เรียนรู้ การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เป็นต้น
3 สื่ออื่น ๆ นอกเหนือจากสื่อ 2 ประเภทที่กล่าวไปแล้ว ยังมีสื่ออื่น ๆ
ที่ส่งเสริมการเรียนรู้
ของผู้เรียน
ซึ่งมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อเทคโนโลยี สื่อที่กล่าวนี้
ได้แก่
1) บุคคล หมายถึง บุคคลที่มีความรู้
ความสามารถ ความเชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ
ซึ่งสามารถถ่ายทอดสาระความรู้
แนวคิดและประสบการณ์ไปสู่บุคคลอื่น เช่น บุคลากรในท้องถิ่น
แพทย์ ตำรวจ นักธุรกิจ เป็นต้น
2) ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง
สิ่งมีอยู่ตามธรรมชาติและสภาพแวดล้อม
ตัวผู้เรียน เช่น พืชผักผลไม้ ปรากฏการณ์ ห้องปฏิบัติการ
เป็นต้น
3) กิจกรรม / กระบวนการ หมายถึง กิจกรรม
หรือกระบวนการที่ผู้สอนและผู้เรียน
กำหนดขึ้นเพื่อสร้างเสริม ประสบการณ์การเรียนรู้
ใช้ในการฝึกทักษะซึ่งต้องใช้กระบวนการคิด
การปฏิบัติ การเผชิญสถานการณ์และ
การประยุกต์ความรู้ของผู้เรียน เช่น บทบาทสมมติ การสาธิต
การจัดนิทรรศการ การทำโครงงาน เกม เพลง เป็นต้น
4) วัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ หมายถึง
วัสดุที่ประดิษฐ์ขึ้นใช้เพื่อประกอบการ
เรียนรู้ เช่น หุ่นจำลองแผนภูมิ แผนที่ ตาราง สถิติ
รวมถึงสื่อประเภทเครื่องมือและอุปกรณ์ที่
จำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงานต่าง ๆ
เช่นอุปกรณ์ทดลองวิทยาศาสตร์ เครื่องมือช่าง เป็นต้น
คุณค่าของสื่อการสอน
สื่อกับผู้เรียน
1) เป็นสิ่งที่ช่วยให้การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
เพราะจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความ
เข้าใจเนื้อหาบทเรียนที่ยุ่งยากซับซ้อนได้ง่ายขึ้นในระยะเวลาอันสั้น
และสามารถช่วยให้เกิด
ความคิดรวบยอดในเรื่องนั้นได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
2) สื่อจะช่วยกระตุ้นและสร้างความสนใจให้กับผู้เรียน
ทำให้เกิดความสนุกสนาน
และไม่รู้สึกเบื่อหน่ายการเรียน
3) การใช้สื่อจะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจตรงกัน
และเกิดประสบการณ์ร่วมกันใน
วิชาที่เรียนนั้น
4) ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนมากขึ้น
ทำให้เกิดมนุษย
สัมพันธ์ อันดีในระหว่างผู้เรียนด้วยกันเองและกับผู้สอนด้วย
5) ช่วยสร้างเสริมลักษณะที่ดีในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้
ช่วยให้ผู้เรียนเกิด
ความคิดสร้างสรรค์จากการใช้สื่อเหล่านั้น
6) ช่วยแก้ปัญหาเรื่องของความแตกต่างระหว่างบุคคลโดยการจัดให้มีการใช้สื่อใน
การศึกษารายบุคคล
สื่อกับผู้สอน
1) การใช้สื่อวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ
ประกอบการเรียนการสอน เป็นการช่วยให้
บรรยากาศในการสอนน่าสนใจยิ่งขึ้น
ทำให้ผู้สอนมีความสนุกสนานในการสอนมากกว่าวิธีการที่
เคยใช้การบรรยายแต่เพียงอย่างเดียว
และเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในตัวเองให้เพิ่มขึ้นด้วย
2) สื่อจะช่วยแบ่งเบาภาระของผู้สอนในด้านการเตรียมเนื้อหา
เพราะบางครั้งอาจ
ให้ผู้เรียนศึกษาเนื้อหาจากสื่อได้เอง
3) เป็นการกระตุ้นให้ผู้สอนตื่นตัวอยู่เสมอในการเตรียมและผลิตวัสดุใหม่
ๆ เพื่อ
ใช้เป็นสื่อการสอนตลอดจนคิดค้นเทคนิควิธีการต่างๆ
เพื่อให้การเรียนรู้น่าสนใจยิ่งขึ้นอย่างไรก็
ตามสื่อการสอนจะมีคุณค่าก็ต่อเมื่อผู้สอนได้นำไปใช้อย่างเหมาะสมและถูกวิธี
ดังนั้น ก่อนที่จะ นำ
สื่อแต่ละอย่างไปใช้ ผู้สอนจึงควรจะได้ศึกษาถึงลักษณะและคุณสมบัติของสื่อการสอน
ข้อดีและ
ข้อจำกัดอันเกี่ยวเนื่องกับตัวสื่อและการใช้สื่อแต่ละอย่าง
ตลอดจนการผลิตและใช้สื่อให้เหมาะสม
กับสภาพการเรียนการสอนด้วยทั้งนี้เพื่อให้การจัดกิจกรรมการสอนบรรลุผลตามจุดมุ่งหมาย
และ
วัตถุประสงค์ที่วางไว้
หลักการเลือกสื่อการสอน
การเลือกสื่อการสอนเพื่อนำมาใช้ประกอบการสอนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมี
ประสิทธิภาพนั้น เป็นสิ่งสำคัญยิ่ง โดยในการเลือกสื่อ
ผู้สอนจะต้องตั้งวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
ในการเรียนให้แน่นอนเสียก่อน เพื่อใช้วัตถุประสงค์นั้นเป็นตัวชี้นำในการเลือกสื่อการสอนที่
เหมาะสม นอกจากนี้ยังมีหลักการอื่น ๆ เพื่อประกอบการ
พิจารณา คือ
5.1
สื่อนั้นต้องสัมพันธ์กับเนื้อหาบทเรียนและจุดมุ่งหมายที่จะสอน
5.2 เลือกสื่อที่มีเนื้อหาถูกต้อง ทันสมัย
น่าสนใจ และเป็นสื่อที่ส่งผลต่อการเรียนรู้มากที่สุด
5.3 เป็นสื่อที่เหมาะกับวัย ระดับชั้น
ความรู้ และประสบการณ์ของผู้เรียน
5.4 สื่อนั้นควรสะดวกในการใช้
วิธีใช้ไม่ยุ่งยากซับซ้อนเกินไป
5.5 เป็นสื่อที่มีคุณภาพเทคนิคการผลิตที่ดี
มีความชัดเจนเป็นจริง
5.6 มีราคาไม่แพงเกินไป หรือถ้าจะผลิตควรคุ้มกับเวลาและการลงทุน
6. ทฤษฎีการเรียนรู้และจิตวิทยาการเรียนรู้
มัลติมีเดีย(Mutimedia
Technology) เป็นสำคัญ
จากความเห็นดังกล่าวข้างต้น
สามารถสรุปได้ว่า สื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษาแบ่งเป็น 3
ประเภทคือ
1. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI) เป็นสื่อมัลติมีเดียที่เน้นการใช้งานในเครื่องเดี่ยว
(Stand
Alone)
2. การเรียนบนเว็บ (WBI) เป็นสื่อมัลติมีเดียที่เน้นการใช้งานในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
หรืออินทราเน็ต
3. e–Learning เป็นสื่อมัลติมีเดียเชิงปฏิสัมพันธ์ที่ใช้งานในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
โดยมี
ระบบบริหารจัดการเรียนรู้ ( CMS หรือ LMS : Learning Management
System) เป็นตัวจัดการ
รายวิชาต่างๆ
ลักษณะของสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา
มี 2 ลักษณะ คือ
2.1 สื่อมัลติมีเดียเพื่อการนำเสนอข้อมูล
มีลักษณะเป็นการสื่อสารทางเดียว ใช้มากในการ
โฆษณาประชาสัมพันธ์ด้านธุรกิจ
เน้นโครงสร้างและรูปแบบการให้ข้อมูลเป็นขั้นตอน ไม่
ตรวจสอบความรู้ของผู้รับข้อมูลส่วนมากควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์หรือผู้นำเสนอ
ผู้รับข้อมูล
อาจเป็นรายบุคคล กลุ่มย่อย หรือ กลุ่มใหญ่
2.2 สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอน
เป็นลักษณะสื่อสองทาง เป้าหมายคือการสอน อาจ
ใช้ช่วยในการสอนหรือสอนเสริมก็ได้
ผู้เรียนใช้เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง หรือเรียนเป็นกลุ่มย่อย มี
วัตถุประสงค์ทั่วไปและวัตถุประสงค์เฉพาะ ครอบคลุมทักษะ ความรู้
ความจำ ความเข้าใจ และเจต
คติ
ส่วนจะเน้นอย่างใดมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และโครงสร้างของเนื้อหา
ใช้เพื่อการ
เรียนการสอนไม่จำกัดว่าจะต้องอยู่ในระบบโรงเรียนเท่านั้น
เน้นการออกแบบการเรียนการสอน
การมีปฏิสัมพันธ์ การตรวจสอบความรู้โดยประยุกต์ทฤษฎีจิตวิทยา
และทฤษฎีการเรียนรู้เป็นหลัก
การออกแบบสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอน
สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนจะดีหรือไม่
ไม่ได้ขึ้นอยู่กับ ความสวยงามของกราฟิก
เสียงที่เร้าใจหรือภาพเคลื่อนไหวที่น่าติดตาม
แต่ขึ้นอยู่กับการออกแบบบทเรียนที่ดี การเสนอ
เนื้อหาทำให้ผู้เรียนมีความรู้และความเข้าใจตรงตามจุดประสงค์ของบทเรียนได้ดี
ดังนั้นจึงควร
คำนึงถึงลักษณะสำคัญของบทเรียน ซึ่งทักษิณา สวนานนท์(2530 : 61-62) ได้กล่าวถึงลักษณะของ
สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนว่า
เป็นบทเรียนที่มีการพัฒนาการมาจากบทเรียนสำเร็จรูป ซึ่ง
เป็นบทเรียนที่มีลักษณะสำคัญดังนี้
1) เริ่มจากสิ่งที่รู้ไปสู่สิ่งที่ไม่รู้ จัดการสอนให้เนื้อหาเรียงไปตามลำดับ
(Linear
Sequence)
เริ่มจากเรื่องที่ผู้เรียนรู้อยู่แล้วไปถึงเรื่องใหม่ๆ
ที่ยังไม่รู้ โดยทำเป็น กรอบ (Frame) หลาย ๆ กรอบ
ผู้เรียนจะค่อย ๆ เรียนไปทีละกรอบตามลำดับง่ายไปสู่ยาก
2) เนื้อหาที่ค่อยๆ เพิ่มขึ้นนั้น
จะต้องเพิ่มขึ้นทีละน้อย ค่อนข้างง่าย และมีสาระความ
เปลี่ยนแปลงในแต่ละกรอบ จะต้องสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
3) แต่ละกรอบจะต้องมีการแนะนำความรู้ใหม่เพียงอย่างเดียว
การเสนอความรู้เนื้อหาอะไร
ใหม่ ๆ ทีละมากๆ จะทำให้ผู้เรียนสับสนได้ง่าย
4) ในระหว่างการเรียนจะต้องให้ผู้เรียนแต่ละคน
มีส่วนในการทำกิจกรรม ตามไปด้วย เช่น
ตอบคำถาม ทำแบบทดสอบ ไม่ใช่คิดตามอย่างเดียวเพราะจะทำให้
เบื่อหน่าย
5) การเลือกคำตอบที่ผิด
อาจทำให้กลับไปทบทวนกรอบของแบบเรียนเก่า หรือได้เป็น
กรอบใหม่ที่อธิบายถึงความเข้าใจผิดหรือความผิดพลาดที่เกิดขึ้น
หรือถ้าเป็น คำตอบที่ถูกต้อง
ผู้เรียนควรได้รับผลป้อนกลับที่ดี
ทำให้ผู้เรียนมีความสนุกสนานไปด้วย คำตอบที่ถูกมักได้รับคำ
ชมเชยทำให้มีกำลังใจ ส่วนคำตอบที่ผิดบางทีอาจถูกตำหนิ
ซึ่งก็จะไม่มีใครได้ยิน ทำให้รู้สึกอับอาย
หรือหมดกำลังใจ
6) การเรียนด้วยวิธีนี้ทำให้ผู้เรียนเรียนได้ตามความสามารถของตนเอง
จะใช้เวลาในการ
ทบทวนบทเรียนหรือคิดคำตอบนานเท่าไรก็ได้
ผู้เรียนจะไม่รู้สึกกดดัน ด้วยกำหนดเวลาที่จะต้องรอ
เพื่อนหรือตามเพื่อนให้ทัน
7) การเรียนในลักษณะนี้เป็นการเรียนโดยเน้นที่ความถนัดของแต่ละบุคคลแต่ละคนจะมี
ความถนัดต่างกัน แม้แต่ในวิชาเดียวกัน
การเรียนบทเรียนแต่ละบทก็จะใช้ เวลาไม่เท่ากัน
8) ในการเสนอบทเรียนลักษณะนี้
การสรุปท้ายบทเรียนแต่ละบทจะช่วยให้ ผู้เรียนได้วัดผล
ตนเอง การสรุปนั้นหมายถึง สรุปเนื้อหา
และสรุปการติดตามผลของผู้เรียนด้วยว่า ผู้เรียนใช้เวลา
เรียนมากน้อยเพียงใด ผลเป็นอย่างไร จำเป็นต้องค้นคว้า
เพิ่มเติมหรือไม่ ในการเรียนในห้องเรียนยิ่ง
ครูทดสอบย่อยเท่าไรการเรียนก็จะยิ่งมีผลเท่านั้น
แต่การทดสอบธรรมดามีปัญหาเรื่องการตรวจ ยิ่ง
ถ้าผู้เรียนในชั้นเรียนมีมากก็อาจจะยิ่งเสียเวลามาก
ความกระตือรือร้นของผู้เรียนอาจค่อยๆหมดไป
9) ในการทำกรอบบทเรียนแต่ละบทนั้นถ้าทำได้ดีจะสามารถวิเคราะห์คำตอบไปด้วย
ประสบการณ์ ของนักเรียนแต่ละคนอาจทำให้คำตอบต่างกันออกไป
เราสามารถวิเคราะห์จาก
คำตอบของนักเรียนได้ว่า
การเลือกคำตอบข้อนั้นถ้าเป็นคำตอบที่ผิดเป็นเพราะเหตุใด อาจเป็น
เพราะสับสนเรื่องอื่น ตีความคำถามผิด หรือไม่เข้าใจบทเรียน
การทำแบบทดสอบที่ดีหากมีการเรียง
เนื้อหาดี ๆ ผู้เรียนควรตอบได้ถูกต้องทั้งหมด
10) การกำหนดวัตถุประสงค์ไว้ปลายทางว่าต้องการให้ผู้เรียนได้รู้อะไรบ้างจะช่วยให้การ
แบ่งเนื้อหาซึ่งจะต้องเรียงไปตามลำดับทำได้ดีขึ้น
ไม่ออกนอกทางโดยไม่จำเป็น
การออกแบบโครงสร้างของการเรียนการสอน
ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ควรจะประกอบด้วย ส่วนสำคัญดังนี้
1) ข้อมูลเกี่ยวกับรายวิชา ภาพรวมรายวิชา (Course
Overview) แสดงวัตถุประสงค์ของ
รายวิชา สังเขปรายวิชา คำอธิบายเกี่ยวกับหัวข้อการเรียน
หรือหน่วยการเรียน
2) การเตรียมตัวของผู้เรียนหรือการปรับพื้นฐานของผู้เรียน
เพื่อที่จะเตรียมตัวเรียน
3) เนื้อหาบทเรียน
พร้อมทั้งการเชื่อมโยงไปยังสื่อ สนับสนุนต่าง ๆ ในเนื้อหาบทเรียน
นั้น ๆ
4) กิจกรรมที่มอบหมายให้ทำพร้อมทั้งการประเมินผล
การกำหนดเวลาเรียน การส่งงาน
5) แบบฝึกหัดที่ผู้เรียนต้องการฝึกฝนตนเอง
6) การเชื่อมโยงไปแหล่งทรัพยากรที่สนับสนุนการศึกษาค้นคว้า
7) ตัวอย่างแบบทดสอบ ตัวอย่างรายงาน
8) ข้อมูลสำคัญ (Vital
Information) แสดงข้อความที่จะติดต่อผู้สอนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องการ
ลงทะเบียนค่าใช้จ่าย การได้รับหน่วยการเรียน
และการเชื่อมโยงไปยังสถานศึกษาหรือหน่วยงาน
และมีการเชื่อมโยงไปสู่รายละเอียดของหน้าที่เกี่ยวข้อง
9) ส่วนแสดงประวัติของผู้สอนและผู้ที่เกี่ยวข้อง
10) ส่วนของการประกาศข่าว (Bulletin
Board)
11) ห้องสนทนา(Chat Room)ที่เป็นการสนทนาในกลุ่มผู้เรียนและผู้สอน
นอกจากนี้เว็บการเรียนการสอนยังสามารถออกแบบและเพิ่มเติมการจัดการต่าง
ๆ ได้
หลากหลายตามความต้องการของผู้สอน
สิ่งที่สำคัญของการจัดการเรียนการสอนทางอินเทอร์เน็ตที่
เป็นเว็บนั้นผู้สอนจะต้องมีขั้นตอนการจัดการเรียนการสอนดังนี้
1) กำหนดวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน
2) การวิเคราะห์ผู้เรียน
3) การออกแบบเนื้อหารายวิชา
3.1) เนื้อหาตามหลักสูตรและสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน
3.2) จัดลำดับเนื้อหา
จำแนกหัวข้อตามหลักการเรียนรู้และลักษณะ เฉพาะของแต่
ละหัวข้อ
3.3) กำหนดระยะเวลา และตารางการศึกษาในแต่ละหัวข้อ
3.4) กำหนดวิธีการศึกษา
3.5) กำหนดสื่อที่ใช้ประกอบการศึกษาในแต่ละหัวข้อ
3.6) กำหนดวิธีการประเมินผล
3.7) กำหนดความรู้และทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการเรียน
3.8) สร้างประมวลรายวิชา
4) การกำหนดกิจกรรมการเรียนการสอน
ทางอินเทอร์เน็ตโดยใช้คุณสมบัติของ
อินเทอร์เน็ตที่เหมาะกับกิจกรรมการเรียนการสอนนั้นๆ
5) การเตรียมความพร้อมสิ่งแวดล้อมการเรียนการสอนทางอินเทอร์เน็ต
ได้แก่
5.1) สำรวจแหล่งทรัพยากรสนับสนุนการเรียนการสอน
ที่ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยง
ได้
5.2) กำหนดสถานที่และอุปกรณ์ที่ให้บริการและที่ต้องใช้ในการติดต่อทาง
อินเทอร์เน็ต
5.3) สร้างเว็บเพจเนื้อหาความรู้ตามหัวข้อของการเรียนการสอนรายสัปดาห์
5.4) สร้างแฟ้มข้อมูลเนื้อหาวิชาเสริมการเรียนการสอนสำหรับการถ่ายโอน
แฟ้มข้อมูล
6) การปฐมนิเทศผู้เรียน ได้แก่
6.1) แจ้งวัตถุประสงค์ เนื้อหา
และวิธีการเรียนการสอน
6.2) สำรวจความพร้อมของผู้เรียน
และเตรียมความพร้อมของผู้เรียน ในขั้นตอนนี้
ผู้สอนอาจจะต้องมีการทดสอบ
หรือสร้างเว็บเพจเพิ่มขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนที่มีความรู้พื้นฐานไม่เพียงพอ
ได้ศึกษาเพิ่มเติมใน เว็บเพจเรียนเสริม หรือให้ผู้เรียนถ่ายโอนข้อมูลจากแหล่งต่าง
ๆ ไปศึกษา
เพิ่มเติมด้วยตนเอง
7) จัดการเรียนการสอนตามแบบที่กำหนดไว้ในเว็บเพจจะมีเทคนิคและกิจกรรมที่สามารถ
สร้างขึ้นได้แก่
7.1) การใช้ข้อความเร้าความสนใจที่อาจจะเป็นภาพกราฟิก
ภาพการเคลื่อนไหว
7.2) แจ้งวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมของรายวิชา
หรือหัวข้อในแต่ละสัปดาห์
7.3) สรุปทบทวนความรู้เดิม
หรือโยงไปหัวข้อที่ศึกษาแล้ว
7.4) เสนอสาระของหัวข้อต่อไป
7.5) เสนอแนะแนวทางการเรียนรู้ เช่น
กิจกรรมสนทนาระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
และระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน กิจกรรมการอภิปรายกลุ่ม
กิจกรรมการค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติม
กิจกรรมการตอบคำถาม กิจกรรมการประเมินตนเอง
กิจกรรมการถ่ายโอนข้อมูล
7.6) เสนอกิจกรรมดังกล่าวมาแล้ว แบบฝึกหัด
หนังสือ หรือบทความ การบ้าน
การทำรายงานเดี่ยว รายงานกลุ่ม
ในแต่ละสัปดาห์และแนวทางในการประเมิน ผลในรายวิชานี้
7.7) ผู้เรียนทำกิจกรรม ศึกษา
ทำแบบฝึกหัดและการบ้าน ส่งผู้สอนทั้งทางเอกสาร
ทางเว็บเพจผลงานของผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนคนอื่นๆ
ได้ทราบด้วย และผู้เรียนส่งผ่านทางไปรษณีย์
อิเล็กทรอนิกส์
7.8) ผู้สอนตรวจผลงานของผู้เรียน
ส่งคะแนนและข้อมูลย้อนกลับสู่เว็บเพจประวัติ
ของผู้เรียนรวมทั้งให้ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ
ไปสู่เว็บเพจ ผลงานของผู้เรียนด้วย
8) การประเมินผล ผู้สอนสามาu3619 .ถใช้การประเมินผลระหว่างเรียนและการและเมินผล
เมื่อสิ้นสุดการเรียนรวมทั้งการที่ผู้เรียนประเมินผลผู้สอนและการประเมินผล
การจัดการเรียนการ
สอนทั้งรายวิชาเพื่อให้ผู้สอนนำไปปรับปรุงแก้ไขระบบการเรียนการสอนทางอินเทอร์เน็ต
พื้นฐานของรูปแบบการสอนแบบสืบสวนสอบสวน (Inquiry) โดยสรุปดังนี้
1) เลือกคำถาม ปัญหา เหตุการณ์
หรือสถานการณ์ ปัจจุบันในการท้าทายผู้เรียนเพื่อให้
ค้นหาคำตอบจุดมุ่งหมายของการเลือกเพื่อให้เกิดการค้นหาโดยการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือ
2) กำหนดจุดมุ่งหมายเฉพาะในการสอน
เพื่อการสืบค้นโดยบอกผู้เรียนให้ทราบแน่นอนถึง
จุดสิ้นสุดของการเรียน จุดมุ่งหมายของข้อมูล ใช้เวลาเท่าไร
ประเมินผลอย่างไร
3) เลือกเว็บไซต์ที่เหมาะสม
ให้ทันเวลาในการสอนตามอายุของผู้เรียนและอยู่ในขอบเขต
ของหลักสูตร
4) การแนะนำกระบวนการ อธิบายกฎเกu3603 .ฑ์ให้ผู้เรียนได้ทราบว่า
ผู้เรียนจะใช้ข้อมูล
ได้อย่างไร นำไปแก้ไขปัญหาหรือคำตอบอย่างไร
ให้ผู้เรียนเข้าใจกระบวน การก่อนเรียน
5) นำเสนอปัญหา
ตั้งคำถามหรือสร้างสถานการณ์ให้คิด ซึ่งต้องให้ผู้เรียนหาคำตอบได้ใน
การสืบค้นในอินเทอร์เน็ต
6) ตรวจสอบ ประเมิน และจัดหาข้อมูล
ผู้เรียนควรจะได้ข้อมูลและเนื้อหา ที่เป็นประโยชน์
มีการอ้างถึงแหล่งข้อมูลและเสนอเนื้อหาอย่างเป็นเหตุเป็นผล
7) พัฒนาคำตอบ โดยให้ ผู้เรียนสรุป ตีความ
ลงความเห็น และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อสรุป
ความคิดเห็น
8) อธิบายคำตอบให้ผู้เรียนเข้าใจ
นำเสนอข้อสนับสนุนที่ดีในการอธิบายให้เป็นไปตาม
วัตถุประสงค์ของบทเรียน
9) การประเมินผล
ผู้เรียนควรเขียนผลของการค้นหาการสืบค้นของตนเอง ให้ผู้เรียนคนอื่น
ๆ
ได้พิจารณาวิธีการที่เขาใช้อย่างเหมาะสมกับการสอนว่าตรงตามจุดประสงค์หรือไม่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น